megabet303 athena303 xtraplay88 megabet808 athena777 tropicana77 mb303 ath303 trpc77 xplay88 mb808 ath777 megabet303 athena303 xtraplay88 megabet808 athena777 tropicana77 mb303 ath303 trpc77 xplay88 mb808 ath777 megabet303 athena303 xtraplay88 megabet808 athena777 tropicana77 mb303 ath303 trpc77 xplay88 mb808 ath777

เมนูหลัก

ค้นหา

ชะมวง รหัส 7-31170-001-150

รหัสพรรณไม้  : 7-31170-001-150

ชื่อพรรณไม้  : ชะมวง

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Garcinia niarolineata Planch. ex T. Anderson

ชื่อวงศ์  : GUTTIFERAE

ลักษณะวิสัย  : ไม้ต้น

ลักษณะเด่นของพืช  : มียางสีเหลืองขุ่นที่ผลและลำต้น

บริเวณที่พบ  : แปลงเกษตร(โซน12)

ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ต้น เรือนยอดทรงพุ่มเป็นรูปไข่   มีความสูง  8  เมตร  ความกว้าง  6  เมตร  อาศัยอยู่บนบก  ลำต้นเหนือดิน  ตั้งตรงเองได้ เปลือกลำต้นสีน้ำตาล   ลักษณะแตกเป็นเส้น   มียางสีเหลืองขุ่น   ชนิดของใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ขนาดแผ่นใบ  กว้าง  3  เซนติเมตร  ยาว  6.5  เซนติเมตร  การเรียงตัวของใบบนกิ่ง ลักษณะตรงข้าม  รูปร่างแผ่นใบเป็นรูปรี  ปลายใบเรียวแหลม  โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ   ดอกเป็นดอกช่อกระจุก  ตำแหน่งที่ออกดอกบริเวณซอกใบ  กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน  ปลายแยกเป็น 4 แฉก  สีเหลือง  กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน  ปลายแยกเป็น  4  แฉก  สีเหลือง  รูปกงล้อ  เกสรเพศผู้  จำนวน 25-30 อัน  สีเหลือง ลักษณะหลอดปลายกระเปาะ   เกสรเพศเมีย  มีจำนวน 1  อัน  สีเหลือง ลักษณะหลอด   รังไข่เหนือวงกลีบ   ไม่มีกลิ่น ลักษณะผลเป็นผลเดี่ยว  ผลสดแบบส้ม  สีของผล  ผลอ่อนสีเขียว  ผลแก่สีส้ม   รูปร่างวงรี    จำนวนเมล็ด 4-7 เมล็ด   สีน้ำตาล   รูปร่างเมล็ด  ครึ่งวงกลมแบน

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น : ใบของชะมวงนำมาทำอาหาร  เป็นเครื่องปรุงในการต้มส้มปลาไหล   ต้มส้มปลาแห้ง  นำมาใส่ในแกงอ่อม  ยอดอ่อนนำมาเป็นผักจิ้ม   ชะมวงเป็นยาระบายท้อง  แก้ไข้  โดยใช้ส่วนใบและผล ใบผสมกับยาชนิดอื่น ปรุงเพื่อขับเลือดเสีย    ลำต้นใช้ทำเฟอร์นิเจอร์  โต๊ะ  ตู้  เตียง  ชะมวงสามารถนำยอดอ่อนไปหมักกับจุลินทรีย์  จะทำให้เกิดรสเปรี้ยวใช้ปราบศัตรูพืชได้ เช่น เพลี้ย