รหัสพรรณไม้ : 7-31170-001-157
ชื่อพรรณไม้ : ถั่วพู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonotobus (L.) Dc. ExHc.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ล้มลุก
ลักษณะเด่นของพืช : ผลแบน มีปีกคล้ายระบายรอบผล
บริเวณที่พบ : แปลงเกษตร(โซน12)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ล้มลุก เรือนยอดรูปไข่ มีความสูง 2 เมตร ความกว้าง 3 เมตร อาศัยอยู่บนบก ลำต้นเหนือดิน ตั้งเองไม่ได้ ใช้ลำต้นเกี่ยวพัน เปลือกลำต้นสีน้ำตาล ผิวขรุขระ ไม่มียาง ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ขนาดแผ่นใบ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 6-9 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของใบ ใบเรียบ การเรียงตัวของใบบนกิ่งแบบสลับ รูปร่างแผ่นใบ รูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบดัด ขอบใบเรียบ ดอกเดี่ยว ตำแหน่งที่ออกดอกตามลำต้นหรือกิ่ง กลีบเลี้ยงแยกจากกัน มีจำนวน 1 อัน สีเขียว กลีบดอก แยกจากกัน มีจำนวน 5 กลีบ สีม่วงขาว รูปดอกถั่ว เกสรเพศผู้ มีจำนวน 10 อัน สีน้ำตาลแดง เกสรเพศเมีย มีจำนวน 1 อัน สีเหลือง ไม่มีกลิ่น ผลเดี่ยว ผลแห้ง ฝักหักข้อ ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลแก่สีน้ำตาล รูปร่างเป็นแฉก 4 แฉก ตามความยาวของฝัก ลักษณะพิเศษของผล ขอบผลเป็นหยัก เมล็ดมี 10-12 เมล็ด สีน้ำตาลแดง รูปร่างกลม
การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น : ฝักของถั่วพู นำมารับประทาน เมล็ดแก่ ต้มสุกรับประทานได้ ถั่วพูเป็นยารักษาโรค คือ ราก แก้โรคลมพิษกำเริบ ปวดท้อง ใช้รักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด เมล็ด คัดเอาเฉพาะเมล็ดสีน้ำตาลต้มรับประทานเมล็ดที่ต้มสุกเลยก็ได้ หรือนำเมล็ดที่ต้มสุกมาบดให้ละเอียดผสมน้ำสุกดื่มก่อนอาหาร 3 เวลา ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงเพิ่มกำลังวังชา



|