รหัสพรรณไม้ : 7-31170-001-171
ชื่อพรรณไม้ : มะระขี้นก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia L.
ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ล้มลุก
ลักษณะเด่นของพืช : ใบและผลดิบ มีรสขม
บริเวณที่พบ : แปลงเกษตร(โซน12)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้เลื้อย เรือนยอดทรงพุ่มรูปไข่ มีความสูง 1.25 เมตร ความกว้าง 3 เมตร ลำต้นอยู่เหนือดินไม่สามารถตั้งตรงเองได้ ใช้มือเกาะพืชชนิดอื่น เปลือกลำต้นสีเขียว ขรุขระ ไม่มียาง ใบของมะระขี้นกเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว ขนาดแผ่นใบ กว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 8 เซนติเมตร การเรียงตัวของใบบนกิ่งสลับกันแบบ (alternate) รูปร่างใบเป็นรูปฝ่ามือ ปลายใบแหลม ขอบใบเว้าลึก โคนใบรูปเงี่ยงใบหอก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ตำแหน่งที่ออกดอกบริเวณซอกใบ กลีบเลี้ยงแยกออกจากกัน มีจำนวน 5 กลีบ สีเหลืองสด รูปดอกพิเศษ รูปกากบาท โคนเชื่อมติดกัน รูปคนโท เกสรเพศผู้ มีจำนวน 3 อัน สีเขียวปนเหลือง เกสรเพศเมีย มีจำนวน 3 อัน สีเหลือง รังไข่ใต้วงกลีบมีกลิ่นเหม็นเขียว ผลของมะระขี้นกเป็นผลเดี่ยว ผลสด ผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเม็ด ผลแห้งแตกกลางพู สีของผลอ่อนมีสีเขียว ส่วนผลแก่มีสีเหลืองอมแดง รูปร่างคล้ายกระสวย ลักษณะพิเศษของผลผิวเปลือกขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา มีเมล็ด 8-10 เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน รูปร่างเมล็ดเป็นรูปหกเหลี่ยม มีลาย ผิวขรุขระ
การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น : ใบอ่อนของมะระขี้นกนำมาจิ้มกับลาบ น้ำพริก เป็นสมุนไพรไทย ป้องกัน รักษา โรคเบาหวานได้ เพราะจะช่วยลดน้ำตาลในเลือด มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ลดน้ำตาลในเลือด มีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ต้านมะเร็ง แก้ปากเปื่อย บำรุงระดู รักษาฝี



|