รายงานการประเมิน โครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อนำเสนอแบบปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก โดยแบบจำลอง CIPP Model (เจ้าของผลงาน : นางลักษมี พายุหะ)

ชื่อผลงานทางวิชาการ     รายงานการประเมิน โครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อ

นำเสนอแบบปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการ

อนุรักษ์พันธุกรรมพืชโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก อำเภอละหานทราย

จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแบบจำลอง CIPP Model

ผู้รายงาน         นางลักษมี  พายุหะ รองผู้อำนวยการโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จังหวัดบุรีรัมย์

ปีที่รายงาน       2559

บทคัดย่อ

            การนำเสนอผลงานทางวิชาการ เรื่อง  การประเมินโครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อนำเสนอแบบปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice).กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์  โดยแบบจำลอง CIPP Model ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 
            1.ประเมินโครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 
            2. หาแนวทางการส่งเสริมการจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรม โครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 
            3.นำเสนอแบบปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  
กลุ่มเป้าหมายของประชากรในการประเมินโครงการ  จำนวน 779 คน  การหาแนวทางส่งเสริมการจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรม โครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยการสัมภาษณ์จำนวน 15 คน โดยวิธีสนทนากลุ่ม จำนวน 13 คนและกลุ่มเป้าหมายในการหาแบบปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน  23  คน  เครื่องมือที่ใช้การประเมิน  ได้แก่  แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์  การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา